ข้ามไปเนื้อหา

เพลงชาติสาธารณรัฐจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Zhōnghuá Míngúo gúogē)
Zhōnghuá Míngúo gúogē
จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ
คำแปล: เพลงชาติสาธารณรัฐจีน
中華民國國歌 (中华民国国歌)
สุนทรพจน์เนื่องในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวังปู
ลายมือของ ดร. ซุนยัดเซ็น
ชื่ออื่นซานหมินจูอี้ (San Min Chu-i)
เนื้อร้องจากสุนทรพจน์ของ ดร. ซุนยัดเซ็น, ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467)
ทำนองเฉิงเหมาหยุน, ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471)
รับไปใช้พ.ศ. 2473
ตัวอย่างเสียง
เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (ทำนอง)

เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (จีนตัวย่อ: 中华民国国歌; จีนตัวเต็ม: 中華民國國歌; พินอิน: Zhōnghuá Míngúo gúogē, จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งมั่นอยู่บนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน[1] เนื้อหากล่าวถึงวิสัยทัศน์และความหวังของรัฐชาติใหม่และประชาชนในรัฐนั้นจะเป็นจริงได้ด้วยการดำเนินตามหลักลัทธิไตรราษฎร์ หรือ หลัก 3 ประการ แห่งประชาชน

เพลงนี้มักมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซานหมินจู่อี้" (จีนตัวย่อ: 三民主义; จีนตัวเต็ม: 三民主義; พินอิน: Sān Mín Zhǔyì; เวด-ไจลส์: San Min Chu-i) อันเป็นชื่อของหลักลัทธิไตรราษฎร์ที่ปรากฏในวรรคแรกของเพลง แต่ชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเรียกขานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ประวัติ

[แก้]
ซุน ยัดเซ็น (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และเจียง ไคเช็ค (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ในปี ค.ศ.1924

เนื้อความในเพลงชาติสาธารณรัฐจีนเป็นผลงานร่วมกันของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง 4 คน ซึ่งได้แก่

  • หู ฮั่นหมิน (胡漢民 Hú Hànmín)
  • ไต้ จี้เถา (戴季陶; Dài Jìtáo) หรือในอีกชื่อ คือ ไต้ ฉวนเซี่ยน (戴傳賢; Dài Chúanxían)
  • เหลียว จงไข่ (廖仲愷 Liáo Zhōngkǎi)
  • เซ่า หยวนชง (邵元沖 Shào Yuánchōng)

เนื้อความดังกล่าวได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 ในฐานะสุนทรพจน์พิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ของ ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง

หลังพรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกเป็นขุนศึก อีกทั้งโค่นล้มรัฐบาลเป่ยหยางอันเป็นรัฐบาลขุนศึกได้สำเร็จ พรรคก็ได้เลือกเอาสุนทรพจน์นี้เป็นบทร้องของเพลงประจำพรรค พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้สาธารณชนเข้าร่วมการประกวดทำนองเพลงสำหรับใช้เป็นเพลงชาติ

เฉิง เหมาหยวิน (程懋筠; Chéng Màoyún) นักประพันธ์ได้รวบรวมผลงานเพลงชาติที่แต่งก่อนหน้านี้ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่มาเรียบเรียงทำนองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยแรงศรัทธาต่อระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ เพลงชาติสาธารณรัฐจีนจึงถูกแต่งเสร็จภายในคืนเดียว จนในที่สุดผลงานของเฉิงจึงเป็นผลงานที่ชนะเลิศการประกวดจากผลงานที่เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 139 ผลงาน

ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งจำนวนมากได้เสนอให้ใช้สุนทรพจน์ของ ดร. ซุน ยัดเซ็น เป็นบทร้องสำหรับเพลงชาติ และสืบเนื่องจากได้มีการคัดค้านเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทำให้ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขและค้นคว้าเพลงชาติ (國歌編製研究委員會) ขึ้น ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ก็ได้รับรองเนื้อเพลงประจำพรรคก๊กมินตั๋งใช้เป็นเพลงชาติได้ คณะกรรมาธิการกลาง (中央常務委員會) ได้ผ่านความเห็นชอบการเสนอเพลงชาติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1937 และต่อมาในปี ค.ศ. 1943 เพลง "หลักลัทธิไตรราษฎร์" จึงได้เป็นเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ

บทร้อง

[แก้]
โน้ตเพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ภาษาจีน

[แก้]
อักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวย่อ คำแปล คำแปลตามทำนอง

三民主義,吾黨所宗;
以建民國,以進大同。
咨爾多士,為民前鋒;
夙夜匪懈,主義是從。
矢勤矢勇,必信必忠;
一心一德,貫徹始終。

三民主义,吾党所宗;
以建民国,以进大同。
咨尔多士,为民前锋;
夙夜匪懈,主义是从。
矢勤矢勇,必信必忠;
一心一德,贯彻始终。

สามหลักการแห่งประชาชน, รากฐานพรรคของเรา (ก๊กมินตั๋ง)
เราใช้หลักการนี้สร้างสาธารณรัฐขึ้นมา, จึงได้ซึ่งความบรมสุขเกษม
เหล่านักรบทั้งปวงเอ๋ย, จงเข้าสู่แนวหน้าเพื่อประชาชนเถิด
เช้าค่ำมิได้หยุดพัก, จงกระทำตามหลักการนี้
ปฏิญาณตนที่จะพากเพียรและกล้าหาญ, จักถือความสัตย์ซื่อ จักถือความภักดี;
ด้วยใจหนึ่งเดียว คุณธรรมหนึ่งเดียว, จักนำพาปวงชนจนตราบอวสานเอย.

ไตรราษฎร์คือหลักแห่งพรรคของเรา
จงใช้ใคร่เอา, เพื่อเราสราญล้น
นักรบทั้งหลาย, พลีกายเพื่อชน
วันคืนเวียนวน, ตามหนตามหลัก
พากเพียร อาจอง, ซื่อตรง จงรัก;
จิตธรรมเอกจัก-, นำหลักชนนิรันดร์.


ถอดเสียง

[แก้]
ถอดเสียงระบบเวด-ไจลส์ พินอิน

San-min-chu-i, Wu-tang so tsung;
i-chien min-kuo, i-chin ta-t'ung.
Tzu erh to-shih, wei min ch'ien-feng;
su-yeh fei-hsieh, chu-i shih ts'ung.
Shih ch'in shih yung, pi hsin pi chung;
i-hsin i-te, kuan-ch'e shih-chung.

Sānmín zhǔyì, wú dǎng suǒ zōng;
Yǐ jiàn Mínguó, yǐ jìn dàtóng.
Zī ěr duōshì, wèi mín qiánfēng;
Sùyè fěi xiè, zhǔyì shì cóng.
Shǐ qín shǐ yǒng, bì xìn bì zhōng;
Yì xīn yì dé, guànchè shǐ zhōng.

อักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวย่อ
(ถอดเสียงเป็นอักษรไทย)

ㄙㄢㄇㄧㄣˊㄓㄨˇㄧˋㄨˊㄉㄤˇㄙㄨㄛˇㄗㄨㄥ
ㄧˇㄐㄧㄢˋㄇㄧㄣˊㄍㄨㄛˊㄧˇㄐㄧㄣˋㄉㄚˋㄊㄨㄥˊ
ㄦˇㄉㄨㄛㄕˋㄨㄟˋㄇㄧㄣˊㄑㄧㄢˊㄈㄥ
ㄙㄨˋㄧㄝˋㄈㄟˇㄒㄧㄝˋㄓㄨˇㄧˋㄕˋㄘㄨㄥˊ
ㄕˇㄑㄧㄣˊㄕˇㄩㄥˇㄅㄧˋㄒㄧㄣˋㄅㄧˋㄓㄨㄥ
ㄧˋㄒㄧㄣㄧˋㄉㄜˊㄍㄨㄢˋㄔㄜˋㄕˇㄓㄨㄥ

三民(ซานหมิน)主义(จู่อี้)(อู่)(ตาง)(ซฺว่อ)(ซง)
(อี่)(เจี่ยน)民国(หมินกั๋ว)(อี่)(จิ้น)大同(ต้าถง)
(ซือ)(เอ่อร์)多士(ตัวชื่อ)(เหว่ย)(หมิน)前锋(เฉียนเฟิง)
夙夜(ซู่เย่)(เฟ่ย์)(เซีย)主义(จู่อี้)(ชือ)(ฉง)
(ซือ)(ฉิน)(ซือ)(ยง)(ปี้)(ซิน)(ปี้)(จง)
(อี้)(ซิน)(อี้)(เตอ)贯彻(ก่วนเช่อ)(ซือ)(จง)

อักษรแทนเสียง (จู้อินฝูเฮ่า)

[แก้]

ㄙㄢ ㄇㄧㄣˊ ㄓㄨˇ ㄧˋ, ㄨˊ ㄉㄤˇ ㄙㄨㄛˇ ㄗㄨㄥ;
ㄧˇ ㄐㄧㄢˋ ㄇㄧㄣˊ ㄍㄨㄛˊ, ㄧˇ ㄐㄧㄣˋ ㄉㄚˋ ㄊㄨㄥˊ。
ㄗ ㄦˇ ㄉㄨㄛ ㄕˋ, ㄨㄟˋ ㄇㄧㄣˊ ㄑㄧㄢˊ ㄈㄥ;
ㄙㄨˋ ㄧㄝˋ ㄈㄟˇ ㄒㄧㄝˋ, ㄓㄨˇ ㄧˋ ㄕˋ ㄘㄨㄥˊ。
ㄕˇ ㄑㄧㄣˊ ㄕˇ ㄩㄥˇ, ㄅㄧˋ ㄒㄧㄣˋ ㄅㄧˋ ㄓㄨㄥ;
ㄧˋ ㄒㄧㄣ ㄧˋ ㄉㄜˊ, ㄍㄨㄢˋ ㄔㄜˋ ㄕˇ ㄓㄨㄥ。

บทร้องที่ปรากฏในที่นี้ใช้อักษรจีนตัวเต็มหรืออักษรจีนแบบเดิม ยกตัวอย่างเช่น

  • ěr (爾) มีความหมายว่า "คุณ, ท่าน, เธอ" โดยเป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2 ทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์ (ซึ่งแตกต่างจากภาษาจีนปัจจุบัน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งในบริบทนี้ใช้ในความหมายพหูพจน์
  • fěi (匪) เป็นคำพ้องความหมายกับคำว่า 不 (bù) ซึ่งแปลว่า "ไม่"
  • zī (咨) เป็นคำอุทานที่ใช้ในภาษาจีนสมัยเก่า ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้ในภาษาจีนสมัยใหม่

ในประเด็นนี้ เพลงชาติของสาธารณรัฐจีนจึงแสดงออกถึงความแตกต่างจากเพลง "มาร์ชทหารอาสา" ของฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถูกเขียนขึ้นภายหลังไม่กี่ปีด้วยอักษรจีนย่อหรืออักษรจีนสมัยใหม่ที่ใช้ทั่วไปในทุกวันนี้

เช่นเดียวกับการที่ถูกเขียนขึ้นด้วยอักษรจีนอย่างเก่า บทเพลงชาติสาธารณรัฐจีนยังดำเนินตามขนบทางกวีตามแบบจีนดั้งเดิมด้วย รูปแบบของบทเพลงเน้นใช้บทกวีแบบสี่ตัวอักษร (四言詩 - four-character poem) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ร้อยแก้วแบบสัมผัสสี่อักษร (四言韻文 - four-character rhymed prose) ซึ่งปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจว อักษรตัวสุดท้ายในแต่ละบาทของบทร้องนี้ลงท้ายด้วยการสัมผัสเสียง ōng หรือเสียง ēng ซึ่งมีค่าเท่ากันในภาษาจีนโบราณ ด้วยธรรมชาติของบทกวีที่ต้องมีเนื้อหาสั้น ได้ใจความ และรัดกุม ทำให้บางคำในบทร้องนี้มีการแปลความหมายออกแตกต่างกัน ดังปรากฏในคำแปลภาษาอังกฤษของเพลงนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Republic of China (Taiwan) was recognized as the government of mainland China prior to 1949. Since then the Republic of China has controlled Taiwan and some other nearby islands. The Republic of China was replaced by the People's Republic of China (PRC) at the United Nations in 1971.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]